วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

จิตวิทยาการเรียนการสอน

        จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าใจ สามารถอธิบาย สามารถทำนาย กำหนดควบคุมพฤติกรรมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ความสำคัญของจิตวิทยา
        จะทำให้เราเข้าใจความคิด ความรู้สึก อารมณ์ การกระทำและคำพูดของตัวเราและคนอื่น แต่บางครั้งคนอื่นถ้ามันงี่เง่ามาก พูดไม่รู้เรื่องและไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตเรา ก็ไม่ต้องไปสนใจคบหา          หลีกให้ห่างไกล สุขภาพจิตก็จะดี บางคนต้องยอมรับว่านิสัยเสียจริงๆ ไม่รู้ว่าชีวิตในอดีตเป็นอย่างไรนิสัยถึงเป็นเช่นนั้นได้

พฤติกรรมในแง่มุมของจิตวิทยา
พฤติกรรมในแง่มุมของจิตวิทยาหมายถึง กิริยาอาการทุกอย่างที่เรากระทำ โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่
- พฤติกรรมภายนอก ได้แก่ กิริยาอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น กิน เดิน นอน นั่ง พูดคุย โอบกอด เป็นต้น
- พฤติกรรมภายใน ได้แก่ กิริยาอาการที่สังเกตไม่ได้ เช่น การคิด การฝัน การจำ อารมณ์ เป็นต้น

        จิตวิทยากับการเรียนการสอน เป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์ การเรียนการสอนพร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนอย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1.             ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
2.             หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3.             ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4.             การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน

ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
      1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
      2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
           ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
      3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
      4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ   
          
แก้ปัญหาการเรียนการสอน 
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก         มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง      นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน

หลักการสำคัญ
1.มีความรู้เนื้อหาวิชาที่สอน
2.มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนกรสอน
3.มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.มีเจตนคติที่ดีต่อผู้เรียน

จิตวิทยาครู
ครู  หมายถึง  ผู้สอน  มาจากภาษาบาลีว่า ครุ
ภาษาสันสกฤตว่า คุรุแปลว่า หนัก  สูงใหญ่
  -  ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ
  -  ครูต้องมีความหนักแน่น  สุขุม  ไม่วู่วาม  ทั้งความคิดและการกระทำ

บทบาทและความสำคัญของครูในปัจจุบัน
-บทบาทและความสำคัญต่อเยาวชน                                   -               บทบาทและความสำคัญของครูในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
-บทบาทและความสำคัญของครูในการรักษาชาติ                -บทบาทและความสำคัญของครูในเยียวยาสังคม

    หลักการที่สำคัญสำหรับครู
 การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน
- ไม่รื้อฟื้นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น                             - ให้ความยุติธรรมแก่เด็ก อย่างเท่าเทียมกัน       
 - ตั้งเป้าหมายที่นักเรียนสามารถทำได้                 - ครูควรบอกถึงข้อจำกัดของตน   
-  ครูควรทราบข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน            - ครูควรใส่ใจเด็กทุกคน 

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯล

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-  ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
-  ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
-  ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน

การออกแบบและพัฒนาการสอน
การสื่อความหมายเรื่องราวบางเรื่อง ถ้าใช้เพียงการพูดหรือการเขียนบรรยายเพียงอย่างเดียวอาจสับสน หรือยืดยาว
แต่เมื่อใช้แผนภาพ แผนที่ ตาราง กราฟ ฯลฯ เข้าช่วยจะสามารถทำให้เกิดความเข้าใจได้ดีและรวดเร็วขึ้น

ระบบการสอน / ระบบการเรียนการสอน
            ระบบการสอน / ระบบการเรียนการสอน (Teaching / Instructional System) คือ องค์ประกอบต่างๆ ของการเรียนการสอนที่ได้รับการจัดให้มีความสัมพันธ์กันและส่งเสริมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

รูปแบบการสอน / รูปแบบการเรียนการสอน
            ระบบการสอน / รูปแบบการเรียนการสอน (Teaching / Instructional Model) คือ แบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี / หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะ เฉพาะอันจะนำ ผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้

สื่อการเรียนการสอน
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
 1. สื่อประเภทวัสดุ
 2. สื่อประเภทอุปกรณ์
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
 4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์

             เป้าหมายการเรียนรู้ หมายถึง ข้อกำหนดว่านักเรียนควรทำอะไรได้          ในระดับใด จึงผ่านเกณฑ์การประเมินว่าได้เกิดความเข้าใจ มาตรฐานเนื้อหาจะ            กำหนดว่าควรสอนให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระใดบ้าง แต่มาตรฐานความรู้ความสามารถจะกำหนดว่าผู้เรียนจะทำอะไรได้ และต้องทำดีในระดับใดจึงถือว่าผ่านเกณฑ์

การเรียนการสอน
          ในการเรียนการสอน สื่อการสอนมีความสำคัญมาก เนื่องจากสื่อจะเป็นตัวช่วยสอนของครูที่สอนนักเรียน ในปัจจุบันนี้มีสื่อมากมายที่ครูจะนำมาสอนนักเรียนทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคลด้วยว่าจะเลือก สื่อแบบไหนมาสอนนักเรียน สื่อการเรียนการสอนมีส่วนช่วยทำให้นักเรียนเรียนรู้ไก้ดียิ่งขึ้น เราะถ้าครูสร้างแรงจูงใจด้วนการใช้สื่อต่างๆช่วยสอน ก็จะทำให้นักเรียนสนใจและอยากเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อมัลติมิเดีย จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้เร็วกว่าการอ่านหนังสือ
                โดยปกตินักเรียนจะชอบเรียนกับครูที่มีบุคลิกภาพดี เพราะชอบที่จะอยู่ใกล้ ๆ และเมื่อมีความชอบในตัวครูแล้ว ก็อาจนำไปสู่การมีความอดทน และความพยายามที่จะเรียนรู้วิชาที่ครูสอนด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามหากนักเรียนไม่ชอบบุคลิกภาพของครูเสียแล้ว ก็ย่อมไม่อยากอยู่ใกล้ ๆ ไม่อยากได้ยินเสียง และไม่อดทนไม่พยายามที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ครูสอนไปด้วย แม้จะเป็นนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาก็เป็นเช่นนี้ เพราะเขายังไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากพอที่จะอดทน เพื่อการเรียนรู้กับครูที่น่ากลัวหรือน่ารำคาญได้